ดนตรีสมัยศตวรรษที่ 20
เนื่องจากปริ้นท์หมดเลยมาใส่เด็กดี และรอเพื่อนมาปริ้นท์....ช่างมันเถอะ - -
ผู้เข้าชมรวม
461
ผู้เข้าชมเดือนนี้
39
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ดนตรีสมัยศตวรรษที่ 20 (THE TWENTIETH CENTURY ค.ศ. 1900-ปัจจุบัน)
เริ่ม จากปี ค.ศ. 1900 จนถึงปัจจุบัน ดนตรีในยุคนี้มีความหลากหลายมาก เนื่องจากสภาพสังคมที่เป็นอยู่ คีตกวีพยายามที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา มีการทดลองการใช้เสียงแบบแปลกๆ การประสาน ทำนองเพลงมีทั้งรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่ คีตกวีเริ่มเบื่อและรู้สึกอึดอัดที่จะต้องแต่งเพลงไปตามกฎเกณฑ์ที่ถูกบังคับ โดยระบบกุญแจหลักและบันไดเสียงเมเจอร์ และไมเนอร์ จึงพยายามหาทางออกต่างๆ กันไป มีการใช้เสียงประสานอย่างอิสระ ไม่เป็นไปตามกฎของดนตรี จัดลำดับคอร์ดทำตามความต้องการของตน ตามสีสันของเสียงที่ตนต้องการ ทำนองไม่มีแนวที่ชัดเจนรัดกุม เหมือนทำนองยุคคลาสสิค หรือโรแมนติค ฟังเพลงเหมือนไม่มีกลุ่มเสียงหลัก ในครึ่งหลังของสมัยนี้ การดนตรีรุดหน้าไปอย่างไม่ลดละ นอกจากมีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ทางด้านทฤษฎีแล้ว ยังมีการใช้เครื่องไฟฟ้าเข้ามาประกอบด้วย เช่น มีการใช้เสียงซึ่งทำขึ้นโดยระบบไฟฟ้า เป็นสัญญาณเสียงในระบบอนาล็อกหรือดิจิตอล หรือใช้เทปอัดเสียงในสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาเปิดร่วมกับดนตรีที่แสดงสดๆ บนเวที และเสียงอื่นๆ อีกมากยุคนี้จึงเป็นสมัยของการทดลองและบุกเบิก
จากข้างต้นนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปแบบของดนตรีในสมัยศตวรรษที่ 20
ความเปลี่ยนแปลงในทางดนตรีของคีตกวีในศตวรรษนี้ก็คือ คีตกวีมีความคิดที่จะทดลองสิ่งใหม่ ๆ แสวงหาทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับความคิดสร้างสรรค์กับสิ่งใหม่ ๆ ให้กับตัวเอง
ดนตรีในศตวรรษที่ 20 นี้ กล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของดนตรีที่มีหลายรูปแบบนอกจากนี้ยังมีการใช้บันไดเสียงมากกว่า 1 บันไดเสียงในขณะเดียวกันที่เรียกว่า “โพลีโทนาลิตี้” (Polytonality) ในขณะที่การใช้บันไดเสียงแบบ 12 เสียง ที่เรียกว่า “อโทนาลิตี้” (Atonality) เพลงจำพวกนี้ยังคงใช้เครื่องดนตรีที่มีมาแต่เดิมเป็นหลักในการบรรเลง
ลักษณะของบทเพลงในสมัยศตวรรษที่ 20
ดนตรี ในศตวรรษที่ 20 นี้ไม่อาจที่จะคาดคะเนได้มากนัก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามความเจริญก้าวหน้าทางด้าน เทคโนโลยีการเลื่อนไหลทางวัฒนธรรม คนในโลกเริ่มใกล้ชิดกันมากขึ้น (Globalization) โดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต (Internet) ในส่วนขององค์ประกอบทางดนตรีในศตวรรษนี้มีความซับซ้อนมากขึ้นมาตรฐานของรูป แบบที่ใช้ในการประพันธ์และการทำเสียงประสานโดยยึดแบบแผนมาจากสมัยคลาสสิก ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและสร้างทฤษฎีขึ้นมาใหม่เพื่อรองรับ
ดนตรี อีกลักษณะคือ บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเพื่อบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอีเลคโทรนิค ซึ่งเสียงเกิดขึ้นจากคลื่นความถี่จากเครื่องอิเลคโทรนิค (Electronic) ส่งผลให้บทเพลงมีสีสันของเสียงแตกต่างออกไปจากเสียงเครื่องดนตรีประเภท ธรรมชาติ (Acoustic) ที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การจัดโครงสร้างของดนตรียังคงเน้นที่องค์ประกอบหลัก 4 ประการเหมือนเดิม กล่าวคือระดับเสียงความดังค่อยของเสียง ความสั้นยาวของโน้ต และสีสันของเสียง
ประวัติผู้ประพันธ์เพลง
1. อาร์โนลด์ โชนเบิร์ก (Arnold Schoenberg,1874-1951)
เกิดที่กรุงเวียนนาประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 13 กันยายน 1874 ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์เพลงไว้หลายรูปแบบตามแนวความคิดในช่วงปลายสมัยโรแมนติก โดยเริ่มต้นในฐานะผู้ที่เดินตามรอยของวากเนอร์ (Wagner) สเตราส์ (R.Strauss) มาห์เลอร์ (Mahler) และบราห์มส์ (Brahms) โชนเบิร์กได้ศึกษาดนตรีกับครูอย่างจริงจังเพียงเครื่องไวโอลินเท่านั้น ส่วนเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ เขาใช้เวลาว่างในการฝึกหัดเล่นเอาเองทั้งนั้น ไม่ได้เรียนจากใครเลย แต่เขาก็สามารถเล่นได้ดีทุกอย่าง
สไตล์ การแต่งเพลงของโชนเบิร์กเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดยเขาได้ริเริ่มคิดการแต่ง เพลงโดยใช้แนวคิดใหม่คือใช้ระบบทเว็ลฟ-โทน (Twelve Tone System) คือ การนำเสียงสูง – ต่ำทั้งหมด 12 เสียง มาเรียงกันเป็นลำดับที่แน่นอนโดยหลีกเลี่ยงไม่ให้มีเสียงหลัก (Tonic) ซึ่งหลักสำคัญคือ ทฤษฏีที่ว่าด้วยเสรีภาพของเสียง และความสำคัญเท่าเทียมกันของเสียงทุกเสียง
ในดนตรี (The Freedom of Musical Sound : The Atonality) อันเป็นจุดเริ่มต้น และเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของดนตรี “เซียเรียล มิวสิก” (Serial Music) ซึ่งพัฒนาความคิดรวบยอดของมนุษย์ในปรัชญาดนตรีแห่งศตวรรษที่ 20 ให้ก้าวไกลควบคู่ไปกับวิทยาการสมัยใหม่
โชนเบิร์กใช้ “ระบบทเว็ลฟ - โทน” ในผลงานหมายเลขสุดท้ายของ Five Pieces for Piano ในปี 1923 และในท่อนที่ 4 ของ Serenade ในปีเดียวกัน ผลงานการประพันธ์ชิ้นแรกของโชนเบิร์กที่สร้างขึ้นด้วย “ระบบทเว็ลฟ - โทน” โดยตลอดคือ Suite for Piano ในปี 1924 ระบบ “ระบบทเว็ลฟโทน” กลายเป็นเครื่องมือ
การทำงานของโชนเบิร์กที่เขาใช้ด้วยความชำนาญอย่างน่าพิศวงและไม่ซ้ำซากจำเจ นอกจากประสบความสำเร็จในด้านการต้อนรับของผู้ฟัง
แล้วยังก่อให้เกิดประโยชน์การนำไปสู่แนวคิดความเข้าใจเรื่องดนตรีซึ่งแตกต่างไปจากเดิมที่ยึดถือกันมากว่า 300 ปี
นอกจากผลงานด้านดนตรีแล้วโชนเบิร์กยังมีผลงานเขียนด้วย ได้แก่ “ทฤษฎีแห่งเสียงประสาน” (Harmonielehre) ในปี 1911 ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ (Theory of Harmony) ในปี 1947 และยังเป็นอาจารย์สอนการประพันธ์ดนตรีในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งถือว่ามีคุณค่าต่อวงการดนตรีต่อ ๆ มา
ในบั้นปลายชีวิตของโชนเบิร์กเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกันและใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายจนถึงแก่กรรมในปี 1951 ขณะอายุได้ 77 ปี (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 : 260)
2. เบลา บาร์ตอค (Bela Bartok, 1881-1945)
เกิดวันที่ 25 มีนาคม 1881 ตำบล Nagyszentmiklos ประเทศ ฮังการี บิดาเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนกสิกรรมประจำตำบล มารดา เป็นครู ทั้งพ่อและแม่มีความสามารถทางด้านดนตรี แต่บาร์ตอคไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนจากพ่อเนื่องจากพ่อถึงแก่กรรมเมื่อบาร์ตอ คอายุได้ 8 ขวบ
เพลงที่บาร์ตอคประพันธ์ขึ้นมีแนวการประพันธ์เพลงสมัยใหม่โดยใช้เพลงพื้น เมืองของฮังการีและรูมาเนียเป็นวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งท้ายที่สุดทำให้เขามีกิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่วนานาชาติว่าเป็นผู้รอบ รู้ใน ดนตรีพื้นเมืองอย่างดียิ่ง
บาร์ ตอคเป็นอีกผู้หนึ่งที่มีหลักการประพันธ์เพลงเป็นเอกลักษณ์ของตนเองซึ่งทำให้ มีชื่อเสียงในฐานะผู้ประพันธ์เพลงชั้นแนวหน้าผู้หนึ่งในสมัยศตวรรษที่ 20
ผลงานของบาร์ตอคที่น่าสนใจมีมากมายได้แก่ โอเปร่า Duke Bluebeard’s Castle, บัลเลท์ The Miraculous Mandarin เปียโนคอนแชร์โต 3 บท ไวโอลินคอนแชร์โต 2 บท สตริงควอเตท 6 บทและดนตรีสำหรับเปียโนอีกมากมาย โดยเฉพาะชุด Mikrokosmos บทเพลงสำหรับฝึกเทคนิคการเล่นเปียโนกว่า150 บท
ชีวิตในบั้นปลายของบาร์ตอคมีลักษณะเช่นเดียวกับโมสาร์ท และ ชูเบิร์ท กล่าวคือ มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นยากจน ในปี 1944 บาร์ตอคต้องเผชิญกับโรคร้ายคือมะเร็งโลหิตแพทย์ยับยั้งได้ก็แต่เพียงให้ยา และถ่ายเลือด จนกระทั่งเดือนกันยายน ปี 1945 ขณะที่กำลังประพันธ์เพลงวิโอลาคอนแชร์โตให้ วิลเลียม พริมโรสอาการของโรครุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงขั้นต้องส่งโรงพยาบาลจนในที่สุดก็สิ้นใจเมื่อเวลาเกือบเที่ยง วันของวันที่ 26 กันยายน 1945 หลังจากการสิ้นชีวิตของบาร์ตอคไม่นานนักชื่อเสียงของเขาก็ได้รับการกล่าวขาน ในฐานะคีตกวีเอกของโลกผู้หนึ่งแห่งดนตรีสมัยใหม่
3. อีกอร์ สตราวินสกี (Igor Stravinky,1882-1971)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซียโดยกำเนิด เกิดวันที่ 17 มิถุนายน1882 ที่เมือง โลโมโนซอบใกล้กับเมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กแล้วย้ายมาอยู่ในประเทศฝรั่งเศส จากนั้นย้ายมาตั้งรกรากที่สหรัฐอเมริกา พ่อเป็นนักร้องโอเปร่าประจำเมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กและหวังที่จะได้เห็น ลูกเรียนจบกฎหมายและทำงานราชการ ชีวิตในตอนเริ่มต้นของสตราวินสกีคล้ายกับไชคอฟสกี้ (Tchaikovsky) ตรงที่ได้เรียนเปียโนตั้งแต่วัยเด็ก โดยที่บิดามารดาไม่ได้หวังให้เอาดีทางดนตรี ดังที่กล่าวข้างต้น เขาได้เรียนการประพันธ์ดนตรีกับริมสกี้ คอร์ชาคอฟ (Rimsky - Korsakov)
งานของสตราวินสกีมีหลายสไตล์เช่น Neo – Classic คำว่า “Neo” แปลว่า “ใหม่” งานสไตล์ “คลาสสิกใหม่” กล่าวคือ คลาสสิกที่คงแบบแผนการประพันธ์เดิมแต่มีทำนอง เสียงประสาน ฯลฯ สมัยใหม่ นอกจากนี้ก็มีสไตล์ อิมเพรสชั่นนิส (Impressionis) ซึ่งมีหลักการสอดคล้องกับงานนามธรรม (Abstractionism) ทางจิตรกรรม
ผล งานแต่ละชิ้นของสตราวินสกีไม่มีซ้ำกันเลยแม้จะเป็นสไตล์เดียวกันก็ตาม เขาพยายามแทรกแนวคิดใหม่ ๆ ในการประสานเสียง การใช้จังหวะลีลาแปลก ๆ และการเรียบเรียงแนวบรรเลงให้เกิดเสียงที่มีสีสรรอันประหลาดลึกล้ำและเขาก็ ทำงานด้วยความเชื่อมั่นในตัวเองอย่างสมเหตุสมผลมีผู้กล่าวในทำนองที่ว่า ทฤษฎีที่ผิดของสตาวินสกีนั้นเป็นทฤษฎีที่ถูกต้อง เขาเองมีความเชื่อว่าเสียงดนตรีทุกเสียงมีความบริสุทธิ์และมีความสำคัญในตัว มันเองเท่าเทียมกันหมดในทุกกรณี
สตาวินสกีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของวงการดนตรีก่อนเกิดสงครามโลกครั้ง ที่1ด้วยผลงานเพลงประกอบบัลเล่ท์ The Firebird, Petrushka, และ The Rite of Spring (Le sacre du Printemps)เป็นเพลงประกอบบัลเล่ย์เริ่มการประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1910 เขียนไปเรื่อย ๆ กระทั่งวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1913 จึงเขียนเสร็จให้นักดนตรีฝึกซ้อม แล้วนำออกแสดงครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1913 ณ The Theatre des Champs-Elysees กรุงปารีส โดยมีปิแอร์ มองตัว (Pierre Monteux) เป็นผู้ควบคุมการบรรเลง
The Rite of Spring สร้างความตระหนกตกใจให้กับผู้ชมเป็นอย่างมากเพราะเป็นการล้มล้างความคิดเก่า ๆ ลงอย่างสิ้นเชิง บทเพลงใช้หลายบันไดเสียงในเวลาเดียวกัน ใช้จังหวะที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา นับเป็นการแหกคอก แม้ผู้ฟังในปารีสเองยังทนไม่ได้ เล่ากันว่ามีจลาจลย่อย ๆ เลยทีเดียวที่มีการบรรเลงดนตรีแหกคอกครั้งนั้น นอกจากนี้ยังมีเพลงที่ได้รับความนิยมได้แก่ Symphony in three movements, Ebony concerto (Rhapsody concerto), Ragtime, The Song of the nightingale,Piano – Rag – Music
สตาวินสกีประพันธ์ดนตรีจนกระทั่งวาระสุดท้าย เขาสิ้นชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ1971 ที่เมืองนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมอายุได้ 89 ปี นับว่าเป็นคีตกวี ที่อายุยืนมากคนหนึ่ง เข้าแจ้งความประสงค์ก่อนตายว่าอยากให้ฝังศพของเขาไว้ใกล้ ๆ หลุมศพของดีอากีเล็ฟ ที่สุสานซานมีเช็ล (San Michele) ในเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี ทางการอิตาลีให้มีการจัดขบวนแห่ศพไปตามคลองเมืองเวนิซมุ่งสู่สุสานแห่งนั้น ซึ่งมีมุมหนึ่งเป็นสุสานสำหรับคนรัสเซียโดยเฉพาะ
4. อัลบาน เบิร์ก (Aban Berg, 1885 - 1935)
นักประพันธ์เพลงชาวออสเตรียเป็นลูกศิษย์ของโชนเบิร์กและนำเอาหลักการใช้ บันไดเสียงแบบ 12 เสียง (Atonality) มาพัฒนารูปแบบให้เป็นของตนเอง เพื่อต้องการพิสูจน์ให้เห็นว่าลักษณะบันไดเสียงแบบนี้สามารถนำมาใช้ในการ ประพันธ์เพลงให้มีลักษณะเป็นดนตรีที่มีความไพเราะสวยงามและเต็มไปด้วยอารมณ์ ในปัจจุบัน เบิร์กเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ประพันธ์เพลงประเภทโอเปร่าและไวโอลินคอนแชร์โต
5. เซอร์ไก โปรโกเฟียฟ (Sergei Prokofiev, 1891-1953)
นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซียเกิดวันที่ 23 เมษายน 1891 ทางภาคใต้ของรัสเซีย เริ่มเรียนเปียโนจากมารดาตั้งแต่เด็ก ต่อจากนั้นไม่นานนักเขาก็สามารถประพันธ์ดนตรี ทั้งประเภทดนตรีบรรเลงและดนตรีสำหรับโอเปร่า (Opera) ตั้งแต่อายุเพียง 9 ขวบ
ประวัติการ สร้างสรรค์ของเขาเริ่มต้นตั้งแต่เยาว์วัย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่เขาเติบโตมาเป็นคีตกวีเอกคนหนึ่งของโลกคนเราอาจเริ่ม ต้นดีได้ด้วยกันทั้งนั้น แต่น้อยคนที่จะยืนหยัดได้ตลอดรอดฝั่ง ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นความจริงที่ว่า “สิ่งที่พิสูจน์คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ตอนเริ่มแต่ทว่าอยู่ที่ตอนจบ” โปรโกเฟียฟ เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งที่ทำให้ชนรุ่นหลังควรนำมาเป็นแบบอย่างทั้งทางด้าน ความวิริยะอุตสาหะ ในการฝึกฝนดนตรี
ผลงานที่ประพันธ์ที่สำคัญที่ประสบผลสำเร็จมากที่สุดจำนวนหนึ่งถูกเขียนขึ้นซึ่งรวมทั้งซิมโฟนีหมายเลข 5 ประกอบด้วย นิทานดนตรี Peter and the Wolf บัลเลย์เรื่อง Romeo and Juliet และโอเปร่าเรื่อง War and Peace
6. พอล ฮินเดมิธ (Paul Hindemith, 1895-1963)
ผู้ประพันธ์ เพลงและนักไวโอลิน วิโอลาชาวเยอรมัน ซึ่งต่อมาได้ย้ายมาตั้งรกรากที่สหรัฐอเมริกา หลังจากนาซีมีอำนาจในยุโรป ฮินเดมิธ ประพันธ์เพลงเด่นในลักษณะของดนตรีสำหรับชีวิตประจำวันมากกว่าดนตรีศิลปะ ที่เรียกว่า “Gebrauchsumsik” ผลงานสองชิ้นของเขายังคงเป็นผลงานดีเด่นที่บรรเลงในการแสดงคอนเสิร์ต คือ Symphonic Mathis der Maler ดัดแปลงจากโอเปร่าของฮินเดมิธเอง และ Symphonic Metamorphose on Themes of Wehse แนวการประพันธ์ของฮินเดมิธได้ยึดหลักการใช้บันไดเสียง 12 เสียง (Atonality) โดยไม่ละทิ้งระบบเสียงที่มีเสียงหลัก ซึ่งฮินเดมิธถือว่าเป็นหลักสำคัญต่างไปจากหลักการของโชนเบิร์ก
7. จอร์จ เกิร์ชวิน (George Gershwin, 1898 - 1937)
ผู้ประพันธ์และนักเขียนเพลง ชาวอเมริกัน เกิดเมื่อวันที่ 26 กันยายน 1898 บิดาเป็นชาวยิวอพยพจากรัสเซีย เกิร์ชวินเริ่มอาชีพเป็นนักเขียนเพลง ในระหว่างปี 1920-1930 เพลงแรกของจอร์จ คือ Since I Found You ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์มาก่อน จอร์จชื่นชมผลงานของเออร์วิง เบอร์ลิน (Irving Berlin) ซึ่งเป็นนักประพันธ์เพลงป๊อปปูล่าสมัยนั้นเพลงที่มีชื่อเสียงเพลงแรกของ เบอร์ลิน คือ Alexander’s Ragtime Band
ผลงานชิ้นเอกของเกิร์ชวินได้แก่ Rhapsody in Blue สำหรับเปียโนและวงออร์เคสตราหรือวงดนตรีประเภทแจ๊ส Cuban Overture สำหรับวงออร์เคสตรา Concerto in F สำหรับเปียโนและวงออร์เคสตรา Piano Preludes, Porgy and Bess (Folk opera), An American in Paris งานชิ้นแรกสำหรับเวทีบรอดเวย์คือ
เกิร์ชวินก็หนีไม่พ้นความตายเฉกเชนกับมนุษย์คนอื่น ๆ ทั่วไป เขาจากโลกไปเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ปี 1937 ด้วยโรคเนื้องอกในสมอง วิทยุประกาศข่าวการมรณกรรมของเขาว่า “บุรุษผู้กล่าวว่าในหัวของเขามีเสียงดนตรีมากเกินกว่าที่เขาจะสามารถบันทึกลงบนกระดาษให้หมดได้ ได้ถึงแก่กรรมเสียแล้วในวันนี้ที่ฮอลลิวู้ด”
8.อารอน คอปแลนด์ (Aaron Copland, 1900-1991)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวอเมริกันซึ่งวัตถุดิบในการแต่งเพลงนำมาจากสังคม ของอเมริกันเองไม่ว่าจะเป็นเพลงประเภทพื้นเมือง เพลงเต้นรำ ดนตรีแจ๊ส หรือเหตุการณ์อื่น ๆ ในสังคมอเมริกันผลงานเพลงของคอปแลนด์ประกอบด้วย ดนตรีบัลเลท์ Billy the Kid, Rode และAppalachian Spring เป็นเพลงที่นิยมบรรเลงโดยไม่มีบัลเลท์ประกอบในระยะต่อ ๆ มา เพลงสำหรับออร์เคสตรา El Salon
9. ดมิทรี ชอสตาโกวิช (Dmitri Shostakovich, 1906 - 1975)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย เกิดที่เซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก เมื่อวันที่ 25 กันยายน 1906 เข้าเรียนดนตรีในสถาบันดนตรีแห่ง เซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ขณะอายุ 13 ปี ได้เรียนเปียโนกับ Nikolaev
ใน ผลงานของชอสตาโกวิชในระยะแรกมักถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงว่ายากและก้าวล้ำสมัย เกินกว่าความเข้าใจของผู้ฟังที่จะรับได้ ไม่มีลักษณะของชาตินิยมอยู่ในผลงานและเขาเองก็ต้องทนทุกข์กับคำติเตียนอย่าง หนักชอสตาโกวิชยึดหลักในการแต่งเพลงที่ต้องการสนองความต้องการของตนเองโดย ไม่ละทิ้งความต้องการของประเทศและประชาชนชาวรัสเซีย ผลงานดนตรีส่วนใหญ่ของเขาที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกและประวัติศาสตร์ของรัส เซียต้องยกย่องเขาให้เป็นคีตกวีคนสำคัญทางดนตรีตะวันตกในศตวรรษที่ 20 นี้ นอกจากนี้แล้วทำนองเพลงที่สำคัญของเขาที่เขียนให้กับ
ภาพยนต์เรื่อง Vstrechnyi ได้ถูกนำมาใช้เป็นบทเพลงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Hymn)
ผลงานการประพันธ์ของชอสตาโกวิชที่เป็นผลงานขนาดใหญ่ คือ ซิมโฟนี 15 บท บางบทมีสาระเนื้อหาเกี่ยวกับการเมืองและความรักชาติ เช่น หมายเลข 7 Leningrad Symphony (ซึ่งบางส่วนเขียนขึ้นขณะที่เมืองเลนินกราดถูกล้อมในปี 1914 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเพื่ออุทิศให้แด่ผู้ที่ต่อสู้ป้องกันเมืองเลนินกราด) นอกจากนี้ยังมีเพลงประเภทคอนแชร์โตสำหรับเครื่องดนตรี สตริงควอเตทดนตรีสำหรับเปียโน และโอเปร่าเรื่อง Lady Macbeth of Mt. Sensk District เขียนขึ้นจากงานวรรณกรรมของ Leskov ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Katerina Ismailova เป็นผลงานที่ทำให้ชอสตาโกวิชพบกับความยุ่งยากทางการเมือง มีคนที่จะพยายามใช้คำพูดอธิบายลักษณะดนตรีของชอสตาโกวิช ส่วนใหญ่มักใช้คำว่า “รุนแรง”” เด็ดขาด” ”ชัดเจน”และ “เปิดเผยตรงไปตรงมา”
ชอสตาโกวิช สิ้นชีวิตวันที่ 9 สิงหาคม 1975 นอกกรุงมอสโคว์ เขาได้รับการนับถือว่าเป็นคีตกวีชาวรัสเซียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยเดียวกัน
10. คาร์ลไฮนซ์ สตอคเฮาเซน (Karlheinz Stockhausen1928 - )
ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน ซึ่งมีความเพ้อฝันและการสร้างสรรค์เกี่ยวกับดนตรีอย่างมากที่สุดผู้หนึ่งใน ศตวรรษที่ 20 ส่วนหนึ่งของผลงานการประพันธ์ใช้หลักการของโชนเบิร์ก คือ การใช้บันไดเสียง 12 เสียง (Atonality) การใช้เครื่องดนตรีประเภทอิเลคโทรนิค และพัฒนาความคิดของผู้ฟังให้มีส่วนในการทำความเข้าใจกับดนตรีด้วยตนเอง (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 : 183)
ผลงานของสตอคเฮาเซนประกอบด้วย
- Gruppen สำหรับวงออร์เคสตรา 3 กลุ่ม
- Zyklus สำหรับเครื่องประกอบจังหวะ
- Kontelte สำหรับเสียงอีเลคโทรนิค เปียโน และเครื่องประกอบจังหวะ Hymnen เป็นดนตรีอีเลคโทรนิคโดยนำแนวทำนองของเพลงชาติประเทศต่าง ๆ มาเป็นวัตถุดิบและ Stimmung สำหรับเครื่องอีเลคโทรนิค 6 เครื่อง
สตอกเฮาเซนเป็นผู้ประพันธ์เพลงคนแรกที่พิมพ์โน้ตเพลงอีเลคโทรนิคในรูปแบบของ แผนภูมิ นอกจากเป็นผู้ประพันธ์แล้วเขายังเป็นครูสอนแนวคิดทางดนตรีที่เป็นของตนเองด้วย
11. ฟิลิป กลาส (Philip Glass, 1937-)
ผู้ประพันธ์เพลง ชาวอเมริกันผู้ซึ่งในระยะแรกยึดหลักการแต่งแบบมาตรฐานที่ใช้กันมาในสมัยต่าง ๆ หลังจากไปศึกษาเพิ่มเติมด้านดนตรีในปารีส แนวคิดของกลาสเริ่มเปลี่ยนไปในทางสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากรูปแบบมาตรฐาน อย่างไรก็ตามกลาสเลิกจริงจังกับการประพันธ์เพลงไปพักใหญ่ โดยเปลี่ยนไปประกอบอาชีพเป็นคนขับรถแท็กซี่ ช่างไม้ และช่างประปา จนกระทั่งไปพบกับ ผู้ประพันธ์เพลงแนวเดียวกันอีกครั้งหนึ่งกลาสจึงตั้งวงดนตรีที่ประกอบด้วย ออร์แกนอีเลคโทรนิค 2 ตัว ซึ่งกลาสเล่นเอง 1 ตัว ผู้เล่นเครื่องเป่า 4 คน และนักร้องหญิง 1 คน ซึ่งมิได้ถือเป็นการร้องเพลงแต่ทำหน้าที่เป็นเสมือนเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่ง วงดนตรีนี้เล่นเพลงที่กลาสประพันธ์เอง ซึ่งระยะแรกไม่มีผู้สนใจฟังสักเท่าไร แต่เมื่อเวลาผ่านไปผู้ฟังเริ่มสนใจและติดตามผลงานของกลาสมากขึ้น
หลักการที่กลาสใช้ในการประพันธ์เพลง คือ การบรรเลงแนวทำนองหนึ่งซ้ำ ๆ กัน และเริ่มบรรเลงแนวทำนองต่อไป ซึ่งพัฒนามาจากทำนองเดิมโดยเพิ่มตัวโน้ตเข้าไปทีละ 2 ตัว และทำเช่นนี้เรื่อย ๆ ไปจนในที่สุดแนวทำนองเดิมจะกลายเป็นแนวทำนองใหม่ที่มีความยาวมากถึงกับมีตัวโน้ต 210 ตัว จากดั้งเดิมมี 8 ตัว
ผลงานของกลาสมีมากมายหลายประเภททั้งโอเปร่า ดนตรีบรรเลงในแนวอีเลคโทรนิค เช่น Music Fifth, Music in Twelve Parts, Music with Changing Parts และโอเปร่า Einstein on the Beach และ Satyagrapha เป็นต้น
กลาสสนใจศึกษาดนตรีของชนชาติและเผ่าต่าง ๆ ทั่วโลกและนำมาเป็นวัตถุดิบในการประพันธ์เพลง ผลงานของกลาสเป็นอีกสมัยหนึ่งของดนตรีที่เปลี่ยนแปลงไปตามความคิดสร้างสรรค์ของกลาสผู้ประพันธ์ที่ไม่หยุดอยู่กับที่ ผู้ซึ่งต้องการเสนอผลงานในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้ฟังมีส่วนร่วมในการตัดสินใจว่าความหมายที่แท้จริงของดนตรีอยู่ที่ใดแน่
ผลงานอื่นๆ ของ Thugcha ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Thugcha
ความคิดเห็น